Find me, If you want some inspiration for your creative work

ไอคอนวงกลมสีเหลืองหน้ายิ้ม ผู้ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนส่งความรู้สึกแทนคำพูดให้กับผู้คนทั่วโลกมากว่า 50 ปี จนเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการดำรงชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน

Smiley เป็นที่โด่งดังในช่วงปี 1972 โดยนักข่าวชาวฝรั่งเศส “Franklin Loufrani” ไอคอนวงกลมหน้ายิ้มถูกเติมลงไปในคอลัมน์เกี่ยวกับแนวคิดเชิงบวกที่เขาดูแลอยู่ เพื่อให้ผู้อ่านมีความสุขและเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนส่งรอยยิ้มให้กัน จนท้ายที่สุด Smiley Face ก็เป็นธุรกิจที่ทำเงินมหาศาลให้กับครอบครัว Loufrani และบริษัท “The Smiley” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมุ่งหวังในการส่งต่อรอยยิ้ม ความรู้สึกดี ๆ ของแบรนด์ “Smiley” ให้เป็นที่น่าจดจำ

ในปี 1990s การมาถึงของยุคอินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนโลกไปจากเดิม ด้วยการทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสาร และผู้คนเริ่มมีการใช้ “Punctuation Marks” สัญลักษณ์ตัวคั่นในการออกแบบสร้างเป็น Emoticons แทนความรู้สึกสำหรับส่งข้อความผ่านมือถือและอีเมลเป็นวงกว้าง ทำให้ “Nicolas Loufrani” ทายาทรุ่นสองของครอบครัว Loufrani ผู้สืบทอดธุรกิจ The Smiley ได้เห็นความเป็นไปได้ และทดลองใช้ไอคอน Smiley Face ซึ่งเป็นตัวแทนของความรู้สึก จนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากยุค Analog สู่ Digital ทำให้บริษัท The Smiley มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การใช้ภาษาสื่อสารของผู้คนในชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน

การมีอยู่ของ The Smiley ไม่ได้หยุดเพียงแค่ไอคอนสีเหลืองวงกลมหน้ายิ้มเพียงเท่านั้น แต่ยังมีการต่อยอดพัฒนาสร้างความรู้สึกอื่น ๆ อีกหลากหลายอารมณ์ จนเกิดเป็น พจนานุกรมภาษาภาพหน้ายิ้ม (Smiley Dictionary) หลายพันหน้า เพื่ออธิบายการใช้งานของแต่ละอารมณ์นั้น ๆ

ท้ายที่สุด Smiley Face ก็เป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมหาศาล รายได้เกือบ 100% ของบริษัทมาจากการขาย license ให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ด้วยการนำสัญลักษณ์ไปใช้ในรูปธุรกิจและสินค้าต่าง ๆ เพราะความเรียบง่ายของรอยยิ้มและสีเหลืองที่เป็นตัวแทนของความสดใส ทำให้ Smiley เป็นที่ชื่นชอบและนิยมทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

ทว่าต้นกำเนิดไอคอนหน้ายิ้ม เหมือนจะไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากตระกูล Loufrani ซะทีเดียว โดยบิดาผู้ให้กำเนิด Smiley Face จนเป็นที่รู้จักคือ “Harvey Ball” กราฟิกดีไซน์ผู้รับโจทย์การออกแบบจากนายจ้าง อย่างบริษัทประกัน Guarantee Mutual Company โดยในช่วงปี 1963 ได้กำลังประสบปัญหา ถูกเทคโอเวอร์โดยบริษัทประกันยักษ์ใหญ่อย่าง State Mutual Life Assurance Company ซึ่งทำให้พนักงานขวัญเสียจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำคณะกรรมการบริหารต้องหาวิธีการสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน โดยการสร้างแคมเปญที่ชื่อว่า “Friendship Campaign” ด้วยการทำเข็มกลัดแจกพนักงาน เพื่อให้รับรู้ถึงความสัมพันธ์ที่ดี ๆ ที่องค์กรมีให้เพื่อให้มีความสุขและตั้งใจทำงานอีกครั้ง

“ลวดลายบนเข็มกลัด ที่ทำให้ทุกคนอมยิ้ม” นี่คือโจทย์ที่ Harvey Ball ได้รับในครั้งนี้ เขาได้วาดวงกลม จุดสองจุด และเส้นโค้งที่มีลักยิ้ม 2 ข้าง ใช้เวลาเพียง 10 นาที ในการจบงาน และรับค่าจ้าง $45 เป็นค่าแรงในครั้งนี้ และผลงานชิ้นนี้ก็ทำให้เขาเป็นที่รู้จักในฐานชายผู้เป็นคนออกแบบไอคอนหน้ายิ้มนี้

และด้วยความโด่งดังนี้ ทำให้ในช่วงปี 1970 หลายคนอยากเป็นเจ้าของสัญลักษณ์หน้ายิ้มนี้ หลายคนรู้และหลายคนไม่รู้ว่าต้นกำเนิดมาจากใคร จนทำให้เกิดปัญหาฟ้องร้องกันทั่ว หรืออย่างในปี 1971 ก็มีพี่น้องตระกูล Spain ที่รู้ว่ารูปหน้ายิ้มนี้เป็นของ Harvey Ball แต่ก็เติมคำว่า “Have a Happy Day” ลงไปบนรูปและจดลิขสิทธิ์ในปีเดียวกัน

ท้ายที่ลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฏหมายกลับตกเป็นของ Franklin Loufrani ในปี 1972 อย่างที่กล่าวไปข้างต้น โดยเขากล่าวว่า “มันไม่เกี่ยวว่าใครเป็นผู้เสนอญัตติคนแรกในการกําเนิดของรอยยิ้ม แต่มันเกี่ยวที่ว่าใครตัดสินใจสร้างธุรกิจจากมัน ให้ให้เป็นที่นิยมและสร้างคุณค่าให้กับมันมากกว่า”

ติดตามเรื่องราวและผลงานศิลปะที่น่าสนใจจากพวกเราในแต่ละวันได้ที่

Facebook : Portjolio
Website : Portjolio
Instagram : Portjolio

 

Close
Sign in
Close
Cart (0)

ไม่มีสินค้าในตะกร้า ไม่มีสินค้าในตะกร้า



Currency